วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องพริกขี้หนูสู้กับมด


จัดทำโดย

นายนัฐพล     พันธมาศ   ห้อง 3/6
นายณรงค์      หนูแดง     ห้อง 3/6


ครูที่ปรึกษาการจัดทำโครงงาน

อาจารย์จิตสถา เตชะทวีกุล


วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร

กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่องสมุนไพรไล่มด ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์ และคณะ ที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำตลอดเวลาของการดำเนินงานตามจุดประสงค์ของโครงงานที่ได้กำหนดไว้ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานสมุนไพรไล่มดเรื่องนี้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจศึกษา              
                                                                                                                                         
                                                                                                                           คณะผู้จัดทำ

บทคัดย่อ

มดเป็นแมลงที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้คน, สัตว์เลี้ยงต่างๆ และยังทำให้เกิดความเสียหายกับพืชด้วย แหล่งที่เรามักพบมด ตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอกหรือรอยแตกของพื้นปูน พื้นไม้ หรือตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ขึ้นอยู่ตามเสื้อผ้า อาหารก็มี คณะของเราจึงคิดทำโครงงานกำจัดมดขึ้นเพื่อนำสารบางชนิดจากสมุนไพรและของใช้ในบ้าน มาสกัดเป็นสารกำจัดมด โดยเริ่มศึกษาสิ่งที่สนใจก่อนเช่น พริก สบู่กรด ผิวมะกรูด และกระชาย ปรากฏว่า พริกเป็นสมุนไพรที่เราสนใจเป็นพิเศษ จึงได้ทำพริกมาทดลองหาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการกำจัดมด เมื่อได้สารละลายพริก (สูตร 1) ที่มีความเข้มข้นเหมาะสมแล้ว ก็ได้ทดลองนำสารละลายพริกไปผสมกับสารที่สนใจตัวอื่นๆ คือ สบู่กรด, กระชาย และผิวมะกรูดได้เป็นสารละลาย สูตร 2, สูตร 3 และ สูตร 4 ตามลำดับ วิธีการเตรียมสารละลายพริกจะใช้พริก 20 กรัม กับน้ำ 30 ลบ.ซม. ได้สารสูตร 1 ต่อมาชั่งพริก 3 ครั้งๆละ 20 กรัม และชั่งสบู่กรด, กระชายและผิวมะกรูด อย่างละ 10 กรัม โขลกพริกกับสบู่กรดให้เข้ากันผสมกับน้ำ 30 ลบ.ซม. กรองเอาสารละลายน้ำกากทิ้งได้สูตร 2 ส่วนสูตร 3,4 ก็ใช้กระชาย, ผิวมะกรูดแทนสบู่กรด นำไปทดลองกำจัดแมลงมดแดงไฟ (มดคันไฟ) ในห้องทดลอง ผลการทดลอง พบว่าสูตร 2 จำกำจัดมดได้ดีที่สุด และไปเผยแพร่การกำจัดมดให้กับชุมชนโดยใช้สารละลายสูตรต่างๆ กับมดทั่วๆไป เช่น มดดำ มดง่าม (แต่ไม่ใช้กับมดแดง เพราะขณะนี้พบว่ามดแดงเขาได้นำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์แล้ว) ปรากฏว่าสามารถกำจัดมดได้ผลดีเช่นกัน
บทที่ 1
บทนำ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 มดเป็นแมลงหลายชนิดที่สร้างความรำคาญและก่อความเสียหายให้แก่มนุษย์, สัตว์, พืช มดบางชนิดมีพิษ เช่น มดคันไฟ มดตะนอย มดลิ้นงูเห่า ฯลฯ เรามักจะพบมดได้ตามบ้านเรือน ตามซอกต้นไม้ ตามดินที่ไม่ชื้น ใต้ใบไม้มาหล่นทับกันและพบโดยทั่วไป ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีกำจัดมด โดยไม่ต้องใช้สารเคมีซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายของคน สัตว์และพืช จากการศึกษาและประสบการณ์จริงเราพบว่า ผลพริกมีความเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ขับผายลม เราคาดว่าความเผ็ดร้อนของพริกน่าจะกำจัดมดได้ และในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปได้นำสบู่กรดมากำจัดหมัด เห็บ และยังใช้ขัดภาชนะให้เงางามได้อีกด้วย เพราะสารจากสบู่กรดกัดกร่อนภาชนะให้เงางามยิ่งขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ พบว่ากระชายสามารถแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดและโรคบิด เหง้ากระชายมีรสเผ็ด สามารถนำไปทำอาหาร และผิวมะกรูดเป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร น้ำในผลช่วยเจริญอาหาร ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ใช้ปรุงยา ใช้ดับกลิ่นของอาหาร ผิวมีต่อมน้ำมัน รสปร่าหอมร้อน ในการทดลองหาสารกำจัดมดครั้งนี้ คณะของเราจึงเลือกใช้พริกขี้หนูเป็นสารกำจัดมด และยังคิดนำสบู่กรด, กระชาย และผิวมะกรูดเข้ามาช่วยในการกำจัดมดด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อกำจัดมดโดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดมด
3. หาความเข้มข้นจากสารละลายพริกที่เหมาะสมในการกำจัดมด
4. ศึกษาและเปรียบเทียบสารละลายพริก สูตร 1, สูตร 2, สูตร 3 และสูตร 4 ถึงความเหมาะสมในการกำจัดมด
ขอบเขตการศึกษา
 สารสกัดที่ได้จาก พริก สบู่กรด กระชาย มะกรูด นำมาทดลองกำจัดมด
สมมติฐานของการทดลอง
 ความเผ็ดร้อนของพริกและสารในสมุนไพรรวมถึงสบู่กรดสามารถกำจัดมดได้

ตัวแปรต้น ได้แก่
สารที่อยู่ในพริก ผิวมะกรูด กระชาย และสบู่กรด
ตัวแปรตาม
กำจัดมดได้
ตัวแปรควบคุม ได้แก่
ปริมาณพริก
ปริมาณน้ำ
ปริมาณสมุนไพรแต่ละชนิด
ปริมาณสารละลาย
ปริมาณมด
บทที่ 2
เอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้อง เอกสาร + หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาค้นคว้าได้รับความรู้ดังนี้
พริก
( CHILLI OR HOT PEPPER )
“พริก” พืชผักสมุนไพรมากประโยชน์
พริกเป็นพืชผักรับประทานผลที่ใช้บริโภคกันทั่วไป และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เชื่อกันว่าพริกมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา โดยประเทศเม็กซิโก เป็นศูนย์กำเนิดพริกของโลก ต่อมานักสำรวจเส้นทางเดินเรือและการค้าชาวโปรตุเกสและสเปน ได้นำพันธุ์พริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่ยังเอเซีย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 การกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ของพริกคลอบคลุมไปหลายทวีป รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย พริกเผ็ด มีสารแคปซายซิน ที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำลายและเอนไซม์ที่ย่อยแป้งในน้ำลายเพิ่มมากขึ้น การย่อยแป้งที่ปากมากขึ้นจึงทำให้รสอาหารดี แต่ไม่ควรกินพริกมากเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียและอาเจียนได้ ประโยชน์ของพริกในการเป็นสมุนไพรรักษาโรค
พริกเผ็ด มีสรรพคุณคือ ผลพริก(เม็ดพริก) รสเผ็ดร้อน รับประทานแล้วทำให้ร้อน ทำให้โลหิตไหลเวียนดี เจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้อาเจียน แก้โรคบิด แก้โรคท้องเสีย รักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
รากพริก แก้โรคแขนขาไม่มีกำลัง อ่อนเปลี้ย ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออก
พริกทั้งต้น มีรสฉุน ร้อน แก้โรคเหน็บชาที่เกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคลั่ง ปวดข้อ และรักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด

พริก ชื่อของพริกที่มีปลูกกันในบ้านเรา มีผู้เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาค เช่น พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….ดีปลี ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกนก พริกแด้ หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า มีชื่อเรียกอื่นๆว่า พริกหลวง พริกแล้ง พริกเดือยไก่ พริกหนุ่ม พริกยักษ์ มีชื่อเรียกอื่นๆว่า….พริกหวาน พริกมะยม ทุกคนคงทราบกันดีว่า “พริก” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและผูกพันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยเรามาตั้งแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จากอาหารที่รับประทานกันในแต่ละมื้อของแต่ละวันนั้น ต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสอาหาร เครื่องแกงต่างๆ กันทุกครัวเรือน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของยาต่างๆ ทั้งรับประทานและถูทาภายนอกร่างกาย เช่น ยาช่วยเจริญอาหารและขับลม ขับปัสสาวะแก้ไข้หวัด แก้ไอ ฯลฯ ตลอดจนใช้ผสมสุราทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และความเผ็ดร้อนจะช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในปัจจุบันนี้พริกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันทั่วไป ทั้งเป็นพืชผักสวนครัวและมีการปลูกกันเป็นอาชีพในทุกภาคของประเทศ ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้มากพอสมควร จากสถิติการปลูกพริกของประเทศไทยในปีเพาะปลูก 2525/2526 ของการส่งเสริมการเกษตร รายงานว่าพริกเล็ก (พริกขี้หนู) มีการปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 79,968 ไร่ และปลูกรองๆไป ในภาคเหนือ 76,981 ไร่ ภาคตะวันตก 53,781 ไร่ ภาคใต้ 35,872 ไร่ ภาคตะวันออก 7,500 ไร่ และภาคกลางมีการปลูกน้อยที่สุดประมาณ 6,890 ไร่ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการปลูกพริกชนิดอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะพริกใหญ่ (พริกชี้ฟ้า) เพื่อใช้ทำเป็นพริกแห้งอีกเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
พริกขี้หนู , พริกนก , พริกแด้ , พริกแจว (เหนือ) พริกขี้นก , ดีปลี (ใต้) Capsicum, Cayenne pepper ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 2-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยวเล็กรูปหอกปลายแหลม ขอบจัก ดอกเล็กๆ ผลกลมยาว ปลายไม่แหลม ขนาดเล็กยาว 15-25 มม. สีเขียวเข้ม สุกสีแดงรสเผ็ดจัด
พริกชี้ฟ้า Chili spur pepper อยู่ในตระกูล Capsicum วงศ์ Solanaceae ต้นลักษณะเหมือนพริกขี้หนู แต่ใบโตกว่ารูปหัวใจเรียว ผลกลมยาวปลายแหลมสีขาวหรือเหลืองอ่อนหรือเขียวแก่ สีส้มหรือแดง ยาวกว่าพริกขี้หนู ผลชี้ขึ้นข้างบน รสเผ็ดจัด
สรรพคุณรวม พริกที่ใช้เป็นอาหารทุกชนิดสรรพคุณเสมอกัน คือ
ผล รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้แน่น ขับผายลม เจริญอาหาร ดองสุรา หรือบดผสมวาสลีน ใช้ทาถูนวด หรือแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ต้น รสเผ็ด สุมเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม รสเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ราก รากฝนกับน้ำมะนาวกับเกลือ แก้เสมหะและแก้ไอ
คุณค่าทางอาหารของพริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้า ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 103.0 แคลอรี่ ไขมัน 2.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 19.9 กรัม เยื่อใบ 6.5 กรัม
โปรตีน 4.7 กรัม แคลเซียม 45.0 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 85.0 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
ไวตามินเอ 11,050.0 หน่วยสากล ไวตามินบี 1 0.24 มิลลิกรัม
ไวตามินบี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.10 มิลลิกรัม
ไวตามินซี 70.0 มิลลิกรัม
พริกขี้หนู

ชื่ออื่น ครี (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ; ดีปลี (ปัตตานี) ; ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก (ภาคใต้) ; ปะแถว (ชาวบน-นครราชสีมา) ; พริก (ภาคกลาง, ภาคเหนือ) ; พริกแด้, พริกแต้, พริกนก (ภาคเหนือ), มะระตี (เขมร-สุรินทร์); หมักเพ็ด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ; หละเจีย (จีน) ; Bird Chili.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutesceas L.
วงศ์ Solanaceae
ลักษณะ
เป็นพืชปีเดียว ต้นสูง 45-75 ซม. ใบออกสลับกัน ตัวใบยาวรีเรียบ ก้านใบยาว ดอกสีขาว ออกจากง่ามใบ มี 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงติดกันส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลีบดอก 5 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 9-15 มม. แต่ละกลีบกลมยาวสีขาว ส่วนโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวผู้ติดกลีบดอกที่ใกล้ฐาน อับเรณูกลมยาว ก้านเกสรตัวเมียเป็นเส้นบางๆ 1 อัน รังไข่มี 2 ห้อง ผลกลมยาว ปลายแหลม ขนาดเล็กหรือใหญ่แตกต่างกันไปตามการปลูก ผลแก่มีสีแดงหรือสีส้ม ก้านผลยาวได้ถึง 3.5 ซ.ม. มีกลีบเลี้ยงเหลือติดอยู่เมล็ดมีจำนวนมาก ลักษณะกลมแบนสีเหลืองอ่อน พบปลูกเป็นสวนเพื่อเก็บผลขาย หรือปลูกเป็นไม้ประดับ และเก็บไว้เป็นผลกิน
ส่วนที่ใช้ ผล ราก และต้นใช้เป็นยา
ผล เก็บผลแก่ ใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ ผลแห้ง มีก้านผลและกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผิวนอกบางและหดตัว สีแดงสดหรือแดงเข้มเป็นมัน ภายในกลวง มีผนังกั้น แบ่งเป็น 2-3 ห้อง ตรงกลางเป็นแกนที่ติดขั้วของเมล็ด แต่ละห้องมีเมล็ดมาก เมล็ดสีเหลืองอ่อนกลมแบนหรือมีรูปคล้ายไต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว รสเผ็ด ร้อน ที่ใช้ทำยาควรเป็นพริกที่มีลักษณะกลมยาว ปลายเรียวแหลมงอคล้ายงาช้าง หรือกลมยาว ปลายแหลมตรงคล้ายนิ้วมือ
ราก ขุดแล้วล้างให้สะอาด ใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ทั้งต้น หลังเก็บผลแล้ว ตัดมาใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
สรรพคุณ
 ผล รสเผ็ดร้อน ทำให้ร้อน เลือดไหลเวียนดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยขับลม ขับเสมหะและเหงื่อ แก้ปวดท้อง อาเจียน บิด ท้องเสีย แผลเกิดจากถูกความเย็นจัด กลาก และหิด
ราก แก้แขนขาอ่อนเปลี้ย ไม่มีกำลัง ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออก
ทั้งต้น รสฉุน ร้อน แก้เหน็บชาเกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคั่ง ปวดข้อและแผลที่เกิดจากถูกความเย็นจัด
วิธีและปริมาณที่ใช้
ผลแห้ง 1-2.5 กรัม บดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงกิน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง หรือผสมทา
รากแห้ง 15 กรัม (สด 30 กรัม) ต้มกิน
ทั้งต้น ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง
ข้อห้ามใช้

1. เป็นโรคเกี่ยวกับตา ตาแดง ไม่ควรกิน
2. กระเพาะอาหารอักเสบ ไม่ควรกิน
ตำรับยา
1. บิด ท้องเสีย ใช้พริก 1 ผล บดเป็นผงทำเป็นยาเม็ด สอดไว้ในเต้าหู้ กลืนกิน
2. แผลเกิดจากถูกความเย็นจัด ใช้เปลือกผลปิดแผลไว้
3. ไข้มาลาเรีย ใช้พริก (อายุ 1 ปี ใช้ 1 ผล, ใช้ไม่เกิน 20 ผล) ทำเป็นยาเม็ดกินกับน้ำสุก (อาจหุ้มด้วยเต้าหู้ก็ได้) วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 วัน
4. แผลงูพิษกัด เคี้ยวกลืนพริก 11-12 ผล หลังจากกินแล้วอาการปวดและบวมจะหายไป ที่แผลจะพองเป็นตุ่มเล็กๆ มีน้ำเหลืองออกมา ต่อมาจะหายไป ผู้ที่ถูกงูพิษกัด กินพริกจะรู้สึกชุ่มคอไม่เผ็ด นอกจากนี้อาจเคี้ยวพริกพอกแผลงูกัด
5. แขนขาอ่อนเปลี้ยไม่มีกำลัง ใช้ราก 2 ราก ขาไก่ 15 คู่ ถั่วลิสง 60 กรัม พุทราจีน 6 ผล ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่าๆ กันต้มกิน
6. ไตและอัณฑะบวม ใช้ราก และเนื้อหมู (ไม่มีมันติด) ต้มกิน
7. ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด หลังคลอดแล้ว 3 วัน มีอาการอึดอัด กลัดกลุ้มใจ ปวดศีรษะ ท้องอืดแน่น ใช้พริกขี้หนูแห้งเผาไฟให้ดำเป็นถ่านจนไม่มีรสเผ็ด บดเป็นผงละเอียดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำส้มสายชู 0.5-1 ถ้วยชา กินเช้า-เย็น จนอาการดีขึ้น ยานี้ใช้ได้ทั้งป้องกันและรักษาเมื่อมีอาการแล้ว
ผลรายงานทางคลีนิค
 1. ปวดหลังเอว ปวดขาและข้อต่างๆ ใช้พริกแห้ง บดเป็นผงผสมวาสลิน อัตราส่วน 1 : 1 หรือใช้ผงพริก วาสลิน และแป้ง อัตราส่วน 2 : 3 : 1 ใส่เหล้าเล็กน้อย คนให้เหลวข้นคล้ายแป้งเปียก เวลาใช้ ใช้น้ำมันทากระดาษ แล้วเอาเนื้อยาที่ผสมไว้ทาบริเวณที่ปวด ปิดด้วยกระดาษทาน้ำมัน ใช้พาสเตอร์ปิด ยึดให้อยู่คงที่ จากการรักษาคนไข้ 65 ราย ได้ผล 25 ราย อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 23 ราย อาการดีขึ้น 1 ราย ไม่ได้ผล 16 ราย คนไข้ส่วนมากหลังจากทายาแล้ว 15-30 นาที จะรู้สึกร้อนบริเวณที่ปิดยาไว้ หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน นาน 2-24 ชั่วโมง นานที่สุด 48 ชั่วโมง รู้สึกร้อนทั้งตัว เหงื่อออก ปกติหลังจากพอกแล้ว ข้อต่อต่างๆ จะเคลื่อนไหวสะดวกขึ้นบริเวณที่พอกเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้รู้สึกร้อนและแดงบริเวณที่พอกของคนไข้บางคนเป็นตุ่มพอง
2. อาการอักเสบภายนอกทั่วไป ใช้พริกแก่สีแดง เผาเป็นถ่าน บดเป็นผงโรยแผลวันละครั้ง หรือผสมน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าวให้ข้นทาวันละ 1-2 ครั้ง
3. แผลเกิดจากถูกความเย็นจัด ใช้พริกแห้ง 30 กรัม ต้นอ่อนลูกเดือยแห้ง 60 กรัม ใส่น้ำ 2-3 ลิตร ต้มให้เดือดนาน 3-5 นาที เอากากออก รินเอาน้ำแช่ผล วันละ 1 ครั้ง ถ้าแผลมีรอยแตกหรือเน่าก็ควรปิดแผลและให้ความอบอุ่น จากการรักษาคนไข้ 200 ราย ได้ผลหาย 188 ราย อาการดีขึ้น 8 ราย ไม่ได้ผล 4 ราย คนไข้ที่รักษาหายใช้ยาอย่างน้อย 1 ครั้ง มากที่สุด 11 ครั้ง ส่วนใหญ่ใช้ยาภายใน 5 ครั้งก็เห็นผล
4. บวม เคล็ดขัดยอก ฟกซ้ำ ที่เกิดจากกระทบกระแทก ใช้พริกแห้งบดเป็นผง ผสมวาสลินที่หลอมตัวแล้ว ในอัตราส่วน 1:5 คนให้เข้ากันหลอมจนมีกลิ่นฉุนของพริกออกมา ปล่อยให้เย็น จะเป็นยาขี้ผึ้งข้น เหมาะที่จะใช้ทาแก้บวม เคล็ด ขัด ยอก จากการรักษาคนไข้ 12 ราย ซึ่งใช้ยานี้ทาบริเวณที่เป็น เปลี่ยนทุกวันหรือวันเว้นวัน ได้ผลหาย 7 ราย อาการดีขึ้น 3 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย ส่วนใหญ่พอกยา 4-9 ครั้ง
1. แก้มดลูกมีเลือดออก ใช้รากแห้ง 15 กรัม ขาไก่ 2-4 คู่ ต้มน้ำแบ่งกินเป็น 2 ครั้ง จนเลือดหยุด ให้กินต่อไปอีก 5-10 ชุด เป็นการบำรุงรักษา จากการรักษาคนไข้ 31 ราย ได้ผลดี ปกติกินยา 2-3 ชุด เลือดก็หยุด จากการรักษานี้ คนไข้ก็จะมีประจำเดือนมาตามปกติ มีคนไข้ 2 รายที่กลับเป็นอีก
หมายเหตุ
พริก ใช้เป็นยาถูทาภายนอก ทำให้ร้อน ใช้แก้ปวดเมื่อยบริเวณหลังเอว ปวดวิถีประสาทและปวดข้อ เป็นต้น ในพริกมีสารที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนและระคายเคืองผิวหนังมาก โดยเฉพาะสารสกัดที่เข้มข้น ต้องระวังไม่ให้ถูกผิวหนังที่อ่อนนุ่มหรือเข้าตาได้ ถ้าถูกผิวหนังปวดแสบปวดร้อน ใช้สารละลายด่างทับทิมเจือจางชะล้าง หรือแช่ด่างทับทิมจะไปทำลายสารที่ทำให้แสบร้อนนั้น ถ้าเข้าตา ให้หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีตัวยาทำให้ชา
พริกใช้กิน เป็นยาขับลม ช่วยในกรณีที่กระเพาะอาหารไม่มีกำลัง แต่คนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารอักเสบไม่ควรกิน เพราะพริกอาจไประคายเคือง ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบมากขึ้น ใช้สารสกัดจากพริกผสมแทนนินและน้ำดอกไม้เทศ ใช้เป็นยาอมบ้วนปาก กลั้วคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ คออักเสบ
ใบสด ผสมปูนขาวตำพอกแก้บวม และใบผสมเครื่องเทศอื่นตำพอกแก้แผลมีหนองเรื้อรัง และปวดหัว

มด

ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ 1 หรือปล้องที่ 1 และปล้องที่ 2 ซึ่งติดกับอกจะคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก “มดดำ” น. ชื่อมดหลายชนิด วงศ์ Formicidae สีดำเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว 5-6 มิลลิเมตร ชอบทำรังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่างๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus. 

 กระชาย หัวละแอน (เหนือ) , ขิงแดง , ขิงทราย (อีสาน) เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีก้านใบหุ้มลำต้น ใบมีกลิ่นหอม มีเหง้า, มีรากเก็บอาหาร แยกเป็นกระเปาะจากเหง้า กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ, แดง และที่นิยมกันทั่วไป คือ กระชายเหลือง
เหง้า รสเผ็ดร้อนขม แก้โรคอันเกิดโรคปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง
ราก (นมกระชาย) รสเผ็ดร้อน ขม แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงความกำหนัด
กระชาย

กระชายเป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร
ชื่อท้องถิ่น : กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู่ ซีพู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pandurata Schltr.
วงศ์ Zingiberaceae
ส่วนที่ใช้ ราก เหง้า ใบ
สารที่พบ น้ำมันหอมระเหย
คุณสมบัติ

1. ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด
2. เป็นยาบำรุงหัวใจ
3. ยารักษาริดสีดวงทวาร
4. เป็นยาแก้ไฟ
5. เป็นยาอายุวัฒนะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก เป็นรากฝอย
ลำต้น กระชายเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 2 ฟุตเศษ มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า (Rhizome) แต่ละเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงสีน้ำตาลแกมส้ม เหง้าใต้ดินนี้แตกออกเป็นกระจุกจำนวนมาก โดยมีลักษณะอวบน้ำ ตรงกลางเหง้ามีลักษณะพองมากกว่าหัวท้าย เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ มีความยาวมากกว่าความกว้างประมาณสองเท่า ใบมีรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบออกสลับกันแต่อยู่ในระนาบเดียวกัน ใบมีสีเขียวอ่อน ท้องใบมีสีแดง เนื้อใบละเอียด กาบใบมีสีแดงหรือสีแดงปนสีเขียวอ่อน
ดอก ออกเป็นช่อที่ส่วนยอด ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบ ช่อดอกมีใบประดับเรียงทแยงกัน ดอกบานทีละดอก โดยดอกที่อยู่ทางปลายช่อจะบานก่อน ดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อนหรือสีม่วงแดง ดอกมีลักษณะเป็นถุง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน เกสรตัวผู้มี 5-6 อัน แต่จะมีเพียงอันเดียวที่ไม่เป็นหมัน
ผล เป็นแบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก
พันธุ์กระชาย มีอยู่ 3 ชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กระชายเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น ในที่มีอากาศอบอุ่น ชอบดินปนทราย มักปลูกเป็นผักสวนครัว
วิธีการปลูก

ใช้เหง้าปลูก การปลูกควรพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นานพอสมควร เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน รวมทั้งกำจัดวัชพืชได้ แล้วควรยกร่องกว้างประมาณ 1.5 เมตร นำต้นกระชายตัดใบทิ้ง เหลือรากไว้เพียง 2 ราก ปลูกลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยคอกพอมิดต้นคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่มเฉพาะในระยะแรกที่ปลูกเท่านั้น ไม่ต้องฉีดยาใดๆ เพราะไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน
การเก็บเกี่ยว
ใช้จอบหรือเสียมขุดเหง้าใต้ดิน แล้วตัดใบออก ตัดรากทิ้ง ล้างน้ำชำระดินออก
การจำหน่าย

จำหน่ายเหง้านำไปใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกงหรือใช้เป็นยาหรือเป็นส่วนผสมของยา
กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gastrochilus panderata Ridl.
พืชไทยพืชเทศ ร้อยทั้งร้อยไม่มีชื่อเดียว สะท้อนความแตกต่างของชาติพันธุ์ภาษาประดามีในโลก พันธุ์ของพืชก็เหมือนคน ต่างถิ่นต่างที่เรียกอย่างหนึ่ง กระชายทางเหนือเรียกกะแอนหรือหัวระแอน มหาสารคามมาแปลกหน่อยเรียก ขิงทรายหรือขิงแดง คนเก่ากรุงเทพฯ เรียก ว่านพระอาทิตย์ เด็กๆ ไม่รู้จักแล้ว
กระชายเป็นไม้ล้มลุก (ช้าหรือเร็วไม่ทราบ) เป็นเครื่องเทศและสมุนไพรประกอบอาหาร ถิ่นกำเนิดก็ละอวกป่าดิบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่เอง มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง ที่นิยมรับประทานมากกว่าเพื่อนเห็นจะเป็นกระชายเหลือง หัวกระชายหรือเหง้ากระชายใช้ทำน้ำยาขนมจีน กรุงเทพฯ (ภาคกลาง) ขาดได้ที่ไหน หรือหั่นเป็นฝอยใส่ผัดเผ็ดปลาดุก ผัดเผ็ดนก ผัดเผ็ดกบ ฯลฯ ใช้แต่งรสดับคาวเสียมากกว่าเป็นตัวอาหาร
ภาคใต้ไม่นิยมกินกระชายเพราะเหม็น แต่จำเป็นต้องใส่ในเครื่องแกงอยู่ดี โดยเฉพาะน้ำยาขนมจีน กระชายมีน้ำมันหอมระเหยและสารดับคาว รสชาติของกระชายติดจะเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดแรงเท่าพริก โบราณว่าแก้บิดได้ดี เอากระชายสักสี่-ห้าหัว ล้างเอาดินออก นำไปเผาไฟแล้วตำละเอียด ใส่น้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันและคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน 3-4 ช้อนแกงหลังถ่าย กระชายมีน้ำมันหอมระเหยและสารสำคัญ Campehe, thujene และการบูร ช่วยขับลม นอกจากนี้กระชายยังมีคุณสมบัติคล้ายๆ โสมเกาหลี รับประทานบ่อยๆ คุณผู้ชายอาจจะรู้สึกแปลกใจตัวเองว่าทำไมไม่อยากนอนหัวค่ำ พี่น้องลาวและมาเลเซียทราบเรื่องนี้ดี กระชายแห้งบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่มปวดตามข้อยังได้ กระชายแก้โรคปากแห้ง ปากเปื่อย กระตุ้นหัวใจให้เต้นสม่ำเสมอ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะให้เบาสบาย
ที่ว่ากระชายมีคุณสมบัติละม้ายโสม มีสูตรให้ทดลองปรุงเองดังนี้ นำกระชายแก่สามหัวมาทุบ แล้วห่อผ้าขาวบาง แช่ลงในน้ำผึ้ง แล้วดื่มวันละถ้วยเล็กๆ ก่อนอาหารหรือก่อนนอน แช่ให้ตัวยาออกสัก 2-3 วัน ไม่ใช่จุ่มน้ำผึ้งปุ๊บแล้วรินดื่มปั๊บเพราะใจมันร้อนรน อย่างนี้กระชายก็เอาไม่อยู่
กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata Schl.
ชื่อพ้อง Gastrochilus panderata Ridl.
วงศ์ Zingiberaceae
กระชายเป็นพืชล้มลุกลงหัว มีอายุยืนได้หลายปี ใบงอกขึ้นมาจากเหง้าซึ่งอยู่ใต้ดิน กระชายมีเหง้าและรากที่มีรูปร่างคล้ายกระสวย เหง้าและรากมีกลิ่นหอมและสีเหลืองอ่อน เป็นพืชสวนครัว ปลูกไว้ตามบ้านและสวน เป็นพืชของเอเชียเขตร้อน
ส่วนที่ใช้ เหง้าและราก
สาระสำคัญ เหง้ามี Essential oil สารประเภท flavonoid และ Chromene เหง้าและรากใช้กินแก้อุจจาระร่วงมีโลหิตปนและปวดเบ่ง ลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นส่วนประกอบสำคัญในเครื่องแกงปลาดุก ปลาไหล ห่อหมก น้ำยาm
มะกรูด
ส้มกรูด, ส้มมั่วผี (ใต้), มะหูด (หนองคาย)
เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี
มะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านมีหนามโตแหลมยาว ใบหนาแข็ง มีต่อมน้ำมันหอม ขอบข้างเว้าแหลมลึก ดูเหมือนมีสองใบต่อกัน ดอกเล็กกลีบหนาสีขาว ผลกลมมีจุก เปลือกฉ่ำน้ำมีต่อมน้ำมันมาก ขรุขระ เนื้อในเหมือนมะนาว เมล็ดแบนรูปหยดน้ำ ปลูกไว้ปรุงอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มะกรูดเป็นทั้งเครื่องเทศและสมุนไพร
สรรพคุณ
ใบ : รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำในดับกลิ่นคาว
ผิวลูก : รสปร่าหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
ลูก : รสเปรี้ยว กัดเสมหะในคอ, แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ เอาไส้ออกใส่มหาหิงค์แทน สุมไฟให้เกรียม บดกวาดลิ้นเด็กอ่อน ขับขี้เทา ขับลม แก้ปวดท้อง ปิ้งไฟให้สุกผ่าครึ่งลูกเอาถูฟอกสระผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม นิ่มสลวย แก้คันศีรษะ แก้รังแค
น้ำในลูก : รสเปรี้ยว แก้คอเสมหะ ฟอกโลหิตระดู ขับลมในลำไส้
ราก : รสจืดเย็น แก้ไข้ แก้ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ลมจุกเสียดกระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นโทษ
มะกรูด
มะกรูด เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร
ชื่อท้องถิ่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกร้ยเซียด หรือ โกรจเซิจ (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง–แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Porcupine Orange, Kaffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
วงศ์ : Rutaceae
ส่วนที่ใช้ ผล ผิวของผลและใบ
สารที่พบ กรด Citric อยู่ในน้ำของผลมะกรูด และน้ำมันหอมระเหย Citronellal ที่พบในผิวของผลและพบที่ใบ ดอก
คุณสมบัติ
1. ใช้เป็นยาหรือส่วนประสมของยาต่างๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมและแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่างๆ
3. กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่างๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ปลูกไว้ครั้งเดียวก็มีชีวิตอยู่ได้นานปี ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม
ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยเพียงใบเดียว มีก้านใบแผ่ออกใหญ่เท่ากันกับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็นสองตอน ใบค่อนข้างหนาสีเขียวแก่ ใบมีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมัน
ดอก ดอกเดี่ยวสีขาวมักจะอยู่เป็นกระจุก 3-5 ดอก กลีบดอกร่วงง่าย
ผล เป็นผลเดี่ยว รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ บางพันธุ์มีผลขนาดใหญ่ บางพันธุ์มีผิวของผลขรุขระและมีจุกที่หัวผล บางพันธุ์มีผลมีขนาดเล็ก บางพันธุ์มีผิวของผลเรียบ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พื้นที่ปลูกมะกรูดควรเป็นพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วม ดินมีการระบายน้ำดี ปกติมะกรูดต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตพอสมควร ถ้าขาดน้ำเสียแล้วจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและเจริญเติบโตช้า ผลไม่ดก ขนาดและคุณภาพของผลไม่ดี
วิธีการปลูก
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดินเพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดีหลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึกประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาเศษใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุม ระยะห่างระหว่างต้นมักใช้ระยะปลูกประมาณ 5x5 เมตร
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ ในระยะที่มะกรูดใหม่ๆต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี
2. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15
3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช มักจะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย
การเก็บเกี่ยว
ใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดกิ่งหรือยอดกิ่ง บางทีก็มีการใช้มือเด็ดใบ เด็ดผลก็ได้
การจำหน่าย
มะกรูดมีการใช้ประโยชน์มาก จึงสามารถจำหน่ายได้ตลอดปี โดยจำหน่ายเป็นใบสด ผลสด แต่ปัจจุบันสามารถจำหน่ายในรูปของใบมะกรูดแห้ง และผิวมะกรูดแห้งซึ่งส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความต้องการมะกรูดของตลาดในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงแต่ทว่าเกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันในลักษณะเป็นพืชสวนครัวหรือเป็นพืชรองหรือเป็นพืชเสริมรายได้เท่านั้น ไม่ได้ปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน การปลูกเป็นพืชหลักเดี่ยวๆ มีน้อย
มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
มะกรูดเป็นพี่น้องของมะนาว ลำต้นสูงต่ำก็ประมาณกัน ใบก็คล้ายกัน แต่ใบมะกรูดจะหนาและเขียวเข้มกว่า เปลือกมะนาวผิวนอกลื่น ส่วนมะกรูดเปลือกนอกตะปุ่มตะป่ำดูไม่สวย เป็นไม้ในรั้วบ้าน ไม้สวน ทนแล้งดี แต่แล้งนักผลก็ไม่มีน้ำ บางบ้านในหมู่บ้านต่างๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เจ้าของบ้านปลูกมะกรูดกินเองในกระถาง ต้นสูงเมตรกว่าๆ อาศัยเก็บใบไปปรุงรสอาหารให้ถูกปากได้ตลอดปี
ขาดใบมะกรูดเป็นเครื่องป

บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน
3.1 วัสดุอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ 100 cm จำนวน 5 ใบ
2. แท่งแก้ว จำนวน 5 แท่ง
3. กระบอกตวงขนาด 20 ml จำนวน 1 อัน
4. พริกไทย 100 กรัม
5. พริกป่น 100 กรัม
6. ใบมะกรูด 100 กรัม
7. กระชาย 100 กรัม
8. แป้งข้าวจ้าว 500 กรัม
9. ครก
10. นํ้ากลั่น 1 ลิตร
11. นํ้าตาล 500 กรัม
12. กล่องพลาสติกใส 25 X 25 X 10 ซม. (มีฝาปิด) จำนวน 5 กล่อง
3.2 วิธีการดาเนินการศึกษา
1.นำมดมา 50 ตัวมาแยกใส่กล่องพลาสติกกล่องละ 10 ตัวจะได้มด 5 ชุดการทดลอง
2.ชั่งสมุนไพร ชนิดละ 100 กรัม
3.นำสมุนไพรแต่ละชนิดมาบดให้ละเอียดด้วยครกและผสมกับนํ้าปริมาตร 100 ml
4.ชั่งแป้งจำนวน 50 กรัม 5 ชุดการทดลอง
5.นำนํ้าสมุนไพรแต่ละชนิดมาผสมกับแป้งที่ชั่งเตรียมไว้ แล้วนำไปตากให้แห้ง
6.ชั่งแป้งสมุนไพร ชนิดละ50 กรัม แล้วนำไปโรยในกล่องมดที่เตรียมไว้
7.จับเวลาที่นาทีที่ 1,5,10,15และ 20 นาที แล้วบันทึกจำนวนมดที่หนีออกไปจากกล่อง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
จากการศึกษาสมุนไพรไล่มดได้ผลการทดลองดังนี้
ตารางที่ 1 การทดลองสมุนไพรไล่มด วิธีการทดลอง จำนวนมดที่เหลือ (ตัว)
1 นาที 5 นาที 10 นาที 15 นาที 20 นาที
แป้ง 10 10 10 10 10
แป้ง+พริกป่น 0 0 0 0 0
แป้ง+พริกไทย 2 0 0 0 0
แป้ง+กระชาย 4 2 1 1 1
แป้ง+ใบมะกรูด 3 0 0 0 0

จากตารางที่ 1 ผลการทดลองการศึกษาสมุนไพรไล่มดพบว่า

ในเวลา 1 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ(จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 2 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 3 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 4 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 5 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 2 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 10 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 15 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 20 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ




กราฟที่ 1 แสดงชนิดของสมุนไพรไล่มด ที่นาทีที่ 1,5,10,15และ 20 นาที





บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลองสมุนไพรไล่มด พบว่า
ในเวลา 1 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ(จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 2 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 3 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 4 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 5 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 2 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 10 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 15 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ

ในเวลา 20 นาที จำนวนมดที่เหลือเรียงจากน้อยไปหามาก แป้งผสมพริกป่นเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมพริกไทยเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมใบมะกรูดเหลือ (จำนวน 0 ตัว) แป้งผสมกระชาย เหลือ (จำนวน 1 ตัว) แป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรเหลือ (จำนวน 10 ตัว) ตามลำดับ
ดังนั้นจึงควรใช้แป้งผสมพริกป่นในการไล่มด
5.2 การอภิปรายผลการทดลอง
จากผลการทดลองการศึกษาสมุนไพรไล่มด พบว่า แป้งที่ผสมพริกป่นสามารถไล่มดได้ดีที่สุด ในระยะเวลา 1 นาที มดก็หนีหมด อาจเกิดจากความฉุน และฤทธิ์เผ็ดร้อนของพริก ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองของอภิญญา แก่นทองและคณะ (2550 : http://bord.dserver.org/t/t/thaipr01/00000328.html) ที่ทำการทดลองโดยนำพริกขี้หนูผสมกับสบู่กรดและนํ้า ในอัตรส่วน 20:10:30 มาไล่มดก็สามารถไล่มดได้ดีเช่นกัน ส่วนแป้งที่ไม่ผสมสมุนไพรทิ้งไว้ถึง 20 นาทีก็ไม่สามารถไล่มดได้เลยนั้นมีสาเหตุมาจาก แป้งไม่มีกลิ่นและความเผ็ดร้อนมดจึงสามารถอยู่ได้


 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
จะทำให้ทราบว่าสมุนไพรแต่ละชนิดไล่มดได้ดีและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ข้อเสนอแนะในการทดลอง
1. ควรศึกษาการใช้สมุนไพรไล่มดให้หลากหลายชนิด
2. ควรมีการทดลองซํ้าหลายๆ ครั้ง และใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น
3. ควรมีการศึกษาถึงระดับความเข้มข้นของพริกที่เหมาะสมในการไล่มด